Your search results

Singapore property investment

Posted by expert on May 4, 2015
| 0

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์

ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสิงคโปร์ | Singapore’s real estate investment portal

ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสิงคโปร์

ข้อมูลทั่วไป

เมืองหลวงสิงคโปร์

ที่ตั้ง เป็นเกาะ (island city-state) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ (ห่างจากคาบสมุทรประมาณ 137 กิโลเมตร) ทิศเหนือติดกับรัฐยะโฮร์ มาเลเซีย (Johor Bahru) ทิศตะวันออก ติดทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดมาเลเซียและช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดช่องแคบมะละกา ใกล้กับเกาะเรียล (Riau) ของอินโดนีเซีย

พื้นที่4 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต)

ประชากร 5.31 ล้านคน

ศาสนา พุทธ (ร้อยละ 42.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) คริสต์ (ร้อยละ 14.6) ฮินดู (ร้อยละ 4) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 25)

ภาษาราชการ อังกฤษ จีน มลายูและทมิฬ

ประมุข นายเอส อาร์ นาธาน (2542-ปัจจุบัน) ประธานาธิบดี

ผู้นำรัฐบาล นายลี เซียน ลุง (2547-ปัจจุบัน) นายกรัฐมนตรี

รูปแบบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี)

วันชาติ 9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 20 กันยายน 2508

เงินตรา ดอลลาร์สิงคโปร์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 259.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว 50,123 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.9

สินค้าส่งออก เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า

สินค้านำเข้า เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร

การเมืองการปกครอง

ประเทศสิงคโปร์มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี) สิงคโปร์มีเสถียรภาพและความต่อเนื่องทางการเมืองโดยมีรัฐบาลภายใต้การนำของพรรค People’s Action Party (PAP) มาโดยตลอดนับตั้งแต่แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี 2508 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 นายลี เซียน ลุง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานธนาคารกลาง (บุตรของนายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์)ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สามของสิงคโปร์ สืบแทนนายโก๊ะ จ๊ก ตง (ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส

  • นโยบาย
    เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2548 นายลี เซียน ลุงได้กล่าวถ้อยแถลงต่อประชาชนในโอกาสวันชาติสิงคโปร์ (National Day Rally Speech) โดยได้ระบุถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยในด้านการต่างประเทศนั้น สิงคโปร์จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน (โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซีย) รวมทั้งกับประเทศมหาอำนาจสำคัญๆ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรปและออสเตรเลีย นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน และการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย สำหรับนโยบายภายในประเทศ สิงคโปร์จะมุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (remake Singapore) โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนวัตกรรม การประกอบการ การวิจัยและการพัฒนา (innovation, enterprise and R&D) สำหรับด้านสังคม จะให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน การดูแลคนชราและผู้ที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านบริการเพื่อให้สิงคโปร์มีลักษณะของเมืองที่มีความเป็นสากล

การเปิดกว้างทางสังคม

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ย้ำในหลายโอกาสว่าประสงค์ที่จะพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น (a more transparent and open society) โดยจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่านิยมที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของประเทศ (อาทิ การเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา) มากกว่าการนำระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยของตะวันตกมาปรับใช้ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองสิงคโปร์เห็นว่าประเด็นเรื่องศาสนาและความแตกต่างทางเชื้อชาติเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนในสังคมสิงคโปร์

  • ด้านเศรษฐกิจด้านการค้าในปี ๒๕๕๔ สิงคโปร์เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ ๕ ของไทย (รองจากญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯและมาเลเซีย) ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ ๙ ของสิงคโปร์ โดยการค้ารวมมีมูลค่า ๑๙,๒๓๗.๓๘ ล้านเหรียญสหรัฐ (๕๘๒,๓๙๓.๘๖ ล้านบาท) ไทยส่งออก ๑๑,๔๕๐.๐๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๓๔๔,๗๘๑.๖๘ ล้านบาท) ไทยนำเข้า ๗,๗๘๗.๒๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๓๗,๖๑๒.๒๑ ล้านบาท) โดยไทยได้ดุลการค้า ๓,๖๖๒.๘๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๑๐๗,๑๖๙.๔๗ ล้านบาท)(มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๓ มูลค่า ๓,๙๓๔.๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๙๕,๓๐๙.๕๘ ล้านบาท) และไทยได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้น ๙๔๖.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๓,๘๗๙.๔๙ ล้านบาท))
    สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และน้ำมันดิบ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสิงคโปร์ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านการลงทุน ในปี ๒๕๕๔ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติ ๕๘ โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม ๒๕,๑๗๕.๙ ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร การบริการ เคมีภัณฑ์และกระดาษ การเกษตรด้านการท่องเที่ยว ในปี ๒๕๕๔ มีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์มาไทยจำนวน ๖๗๐,๑๔๘ คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นจากจำนวนชาวสิงคโปร์ที่เดินทางมาไทยในปี ๒๕๕๓ (จำนวน ๕๗๖,๒๕๙ คน) ร้อยละ ๑๑.๐๔ด้านแรงงาน สิงคโปร์เป็นตลาดสำคัญของแรงงานไทยในลำดับสองรองจากไต้หวัน โดยในปี ๒๕๕๓ มีแรงงานไทยทั้งประเภทมีฝีมือและไม่มีฝีมือในสิงคโปร์ประมาณ ๓๓,๐๐๐ คน มีบริษัทที่ว่าจ้างแรงงานไทย ๒๘๑ บริษัทในสาขาการก่อสร้าง อู่ต่อเรือ และปิโตรเคมี

ทำไมต้องสิงคโปร์? | Singapore’s real estate investment portal

ทำไมต้องสิงคโปร์?

สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ และฮ่องกง ติดอันดับประเทศที่น่าลงทุนทำธุรกิจมากที่สุดจากรายงานของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน บราซิล และอินเดีย อยู่อันดับรองๆ ลงไป ส่วนไทยปีนี้รั้งอันดับที่ 26

รายประจำปี “Doing Business” ซึ่งธนาคารโลกเผยแพร่วันนี้(29) มุ่งศึกษาวิเคราะห์ว่าประเทศใดที่รัฐมีนโยบายเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจมากที่สุด ซึ่งผลปรากฏว่า 3 ประเทศเล็กๆ ในภูมิภาคแปซิฟิกมีคะแนนนำโด่ง
ease of doing biz
10 ประเทศแรกที่เอื้อต่อการลงทุนมากที่สุดตามการวิเคราะห์ของเวิลด์แบงก์ ได้แก่ สิงคโปร์, นิวซีแลนด์, ฮ่องกง, เดนมาร์ก, เกาหลีใต้, นอร์เวย์, สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฟินแลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่เคยมีชื่อติดโผในปีก่อนๆ


อย่างไรก็ดี รายงานปีนี้ซึ่งได้ปรับระเบียบวิธีวิจัยใหม่หลังจากที่ถูกจีนติเตียนมาหลายปี กลับยังทำให้มหาอำนาจเกิดใหม่อยู่ค่อนไปทางท้ายตาราง แม้ประเทศเหล่านี้จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและสามารถดึงดูดนักลงทุนได้ดีก็ตาม
จีนถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 90 จากทั้งหมด 189 ประเทศและดินแดน ขยับขึ้นเล็กน้อยจากอันดับ 93 ในปีที่แล้ว ส่วนบราซิลก็ขยับขึ้นมา 3 อันดับอยู่ที่ 120 ในขณะที่อินเดียร่วงลงไป 2 อันดับอยู่ที่ 142

ease ranks

ทั้ง 3 ประเทศถูกจัดอันดับความน่าลงทุนต่ำกว่ารัสเซีย(62) และกรีซ(61) ซึ่งกำลังมีปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าและนักลงทุนก็ยังเผชิญอุปสรรคหลายประการ

เกาชิก บาซู นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเวิลด์แบงก์ ยอมรับว่า รายงาน Doing Business “เป็นเพียงการวิเคราะห์บางแง่มุมของระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อนในประเทศยุคใหม่” และเป็นไปได้ว่า “ประเทศหนึ่งอาจจะทำคะแนนได้น้อยตามเกณฑ์ของ Doing Business แต่อาจจะไปเด่นในด้านนโยบายเศรษฐกิจมหัพภาค หรือสวัสดิการสังคมก็เป็นได้”

รายงานชิ้นนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำธุรกิจ ความยากง่ายในการเปิดบริษัท การถ่ายโอนทรัพย์สิน การแก้ไขข้อพิพาทการค้า ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออก การขอเชื่อมกระแสไฟฟ้า และประเด็นอื่นๆ ที่เจ้าของธุรกิจจะต้องคำนึงถึงเมื่อเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ

ตามเกณฑ์การพิจารณาของเวิลด์แบงก์ สิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่ทำคะแนนได้สูงสุด 88.27 ตามมาติดๆ ด้วยนิวซีแลนด์ 86.91

ประเทศที่ติด 30 อันดับแรกล้วนทำแต้มได้เกิน 74 ในขณะที่ 5 ประเทศซึ่งรั้งท้ายตาราง ได้แก่ ชาด, ซูดานใต้, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, ลิเบีย และเอริเทรีย ได้คะแนนไม่ถึง 40

สรุป

จะเห็นได้ว่าความน่าลงทุนในการเปิดกิจการใหม่ๆของภูมิภาคเอเชีย กรณีที่ชาวต่างชาติจากประเทศยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาจะเริ่มเข้ามาลงทุนกิจการ หรือ ขยายจะเริ่มที่สิงคโปร์ก่อนทั้งสิ้น ดังนั้นปริมาณความต้องการเรื่องออฟฟิต โกดังสินค้า อาคารพาณิชย์จึงเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งสิงคโปร์ยังเอื้อประโยชน์โดยไม่เก็บภาษีซื้อ ขาย ของเหล่า commercial properties เพิ่ม โดยภาพรวมแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับคอนโดหรือที่อยู่อาศัยถาวร ออฟฟิต อาคารพาณิชย์เพื่อการทำธุรกิจจึงเป็นที่น่าจับตามองในการลงทุนเลยทีเดียว.

กฏหมายการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ | Singapore’s real estate investment portal

กฏหมายการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์

เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและมีพื้นที่จำกัด ดังนั้น ต่างชาติจึงถูกกีดกันจากการซื้อเก็งกำไรเหล่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย(Residential properties) อาทิเช่น คอนโด ทาวเฮ้าส์ บ้านรัฐบาล(HDB) หรือบ้านเป็นหลัง(Landed house) โดยออกกฏหมายเก็บภาษีซื้อเพิ่ม ASDB อีก 15% ในกรณที่คนซื้อเป็นคนต่างชาติ


download

แต่อย่างไรก็ตามประเทศสิงคโปร์ก็ยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนโดยจะเห็นอัตราการเติบโตในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับการค้า ขาย(Commercial properties) เช่น ออฟฟิต, ร้านค้าปลีก(Retail stores), โกดังสินค้า(Warehouse) ที่มีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติอยู่มาก โดยเฉพาะชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนที่เข้ามาทำธุรกิจ ว่ากันว่า commercial properties ที่ถนน Orchard นั้นมีเจ้าของเป็นคนอินโดนีเซียเชื้อสายจีนส่วนมากเลยทีเดียว

Orchard Road

 

image.img

ลักษณะการซื้อ-ขาย | Singapore’s real estate investment portal

ลักษณะการซื้อ-ขาย

เนื่องการสิงคโปร์เป้นประเทศที่มีข้อจำกัดเรื่องแผ่นดิน จึงทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ออกกฏมาปกป้องคนในประเทศ ไม่ให้ราคาที่อยู่อาศัย (residential property) สูงเกินไป จึงออกกฏหมายให้ผู้ซื้อที่เป็นคนต่างชาติจ่าย 15% เพิ่มเป็นค่าภาษี (buyer’s stamp duty) จึงทำให้การลงทุนประเภทออฟฟิต อาคารสำนักงาน โกดังสินค้า เป็นที่น่าสนใจสำหรับนังลงทุนต่างชาติเนื่องจากข้อได้เปรียบเรื่องกฏหมายภาษีอาคารและที่ดิน

ตัวอย่างการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ คือ การซื้อร้าน coffee shop ที่มีคนเช่าอยู่แล้วและเริ่มลงทุน ภาษีของการซื้อจะมีเพียงแค่ 3% สำหรับการซื้อหนึ่งครั้ง ส่วนค่าธรรมเนียมด้านกฏหมายอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของอสังหาริมทรัพย์รวมถึงการกู้ในแต่ละครั้ง

สรุปการซื้อสำหรับชาวต่างชาติ

Properties Stamp duty Other costs
คอนโดและ landed house ABSD: 15% on top of the purchase priceBSD: 3% Stamp and legal fee
Industrial properties ABSD: noneBSD: 1-3%

 

 Buyer’s Stamp Duty (BSD)

On and After 22 February 2014

BSD Rates
 First $180,000  1%
 Next $180,000  2%
 Remainder  3%

 

 Seller’s Stamp Duty (SSD) for Residential Properties

Based on the selling price or market value, whichever is higher

On and after 14 January 2011+  Within 1 year  16% of consideration or value, whichever is higher
 More than 1 year and up to 2 years  12% of consideration or value, whichever is higher
 More than 2 years and up to 3 years  8% of consideration or value, whichever is higher
 More than 3 years and up to 4 years  4% of consideration or value, whichever is higher
 More than 4 years  No SSD payable

 

 

Seller’s Stamp Duty (SSD) for Industrial Properties

Based on the selling price or market value, whichever is higher

 Date of purchase / acquisition or Date of change of zoning / use  Holding period  Rates
 On and after 12 January 2013*  Up to 1 year   15%
 More than 1 year and up to 2 years  10%
 More than 2 years and up to 3 years  5%
 More than 3 years  No SSD payable

* SSD payable to be rounded down to the nearest dollar.

 

Mortgage duty

  1. ii) On and After 22 February 2014
Mortgage Duty Rates 
 Mortgage  Based on the amount of facilities granted on mortgage of immovable property or stocks and shares  0.4%
(Maximum duty payable is $500)
 Equitable Mortgage  0.2%
(Maximum duty payable is $500)
 Variation to Mortgage  0.4%
(Maximum duty payable is $500)
Transfer, Assignment or Disposition of any Mortgage or Debenture  Based on the amount transferred, assigned or disposed, inclusive of interest which is in arrear  0.2%
(Maximum duty payable is $500)

 

Share transfer duty

Applicable to documents such as:

  • Share Transfer by Way of Sale
  • Share Transfer by Way of Gift
  • Trust Deed / Declaration of Trust, if there is a change in beneficial interest
  • Distribution of shares to the beneficiary in a deceased’s estate
  • Distribution of shares to shareholders upon voluntary winding up of company
  • Distribution of dividends in the form of shares to shareholders
  • Transfer of Preference Shares
  • ) On and After 22 February 2014 
Duty on Shares   Share Transfer Duty Rate 
 Based on the purchase price or market value of shares transferred, whichever is higher  0.2%
  • Assuming a share transfer dated 1 Mar 2014 at $3,550 which is reflective of market value.
  • Share transfer duty   = 0.2% x $3,550
    = $7.10
    = $7.00 (rounded down to the nearest dollar)
  • For documents dated on or after 22 Feb 2014, the duties payable are rounded down to the nearest dollar and subject to a minimum duty of $1.

 

 

Buyer’s Stamp Duty (BSD) and Additional Buyer’s Stamp Duty (ABSD) Rates

Profile of buyer

BSD rates

ABSD rates (old)+ from 8 Dec 2011 to 11 Jan 2013

 ABSD rates (new)+from 12 Jan 2013
FR and entities buying residential property 1% on first $180,0002% on next $180,0003% for the remainder 10% 15%
SPR buying 1stresidential property Nil 5%
SPR buying second and subsequent residential property 3% 10%
SC buying the first residential property Nil Nil
SC buying second residential property Nil 7%
SC buying the third and subsequent residential property 3% 10%

Source:http://www.iras.gov.sg/irasHome/page04.aspx?id=12818#Top

Illustration of Computation of BSD and ABSD

Assume a purchase of a flat at a fair market price of $2 million by a FR and the ABSD rate of 15%* applies.

*For acquisition made on or after 12 Jan 2013. ABSD rate of 10% applies if acquisition is made between 8 Dec 2011 to 11 Jan 2013 (both dates inclusive).

 

Computation of BSD
1% on first $180,000 ($180,000 x 1%) $1,800
2% on next $180,000 ($180,000 x 2%) $3,600
3% on remainder ($1,640,000 x 3%) $49,200
BSD $54,600

 

Computation of ABSD
15% of $2,000,000 $300,000
ABSD $300,000

Total Stamp Duty Payable = $54,600 + $300,000

                                                = $354,600

ที่มา:

http://www.iras.gov.sg/irashome/uploadedFiles/Other_Taxes_and_Services/Stamp_duty/B2014%20e-Tax%20Guide.pdf

ข้อมูลสถิติ อัตราการเติบโตของ commercial properties | Singapore’s real estate investment portal

ข้อมูลสถิติ อัตราการเติบโตของ commercial properties

ข้อมูลการขายของค้าปลีก (Retail Sales Performance – excluding Motor Vehicle)

retail sale performance

ค่าเฉลี่ยค่าเช่าของค้าปลีกในย่านดัง

avg month gross rent retail space

 

ค่าเฉลี่ยราคาร้านค้าปลีกต่อตารางฟุตในย่านถนนออชาดและย่านอื่นๆ

avg volume retail space

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.

4 + sixteen =

Compare Listings

error: Content is protected !!