คำอธิบาย
[sg_popup id=”2694″ event=”onLoad”][/sg_popup]ขายออนไลน์ง่ายขึ้นเมื่อมี E-Marketplace
ในยุคปัจจุบันพฤติกรรมการซื้อขายของผู้คนในสมัยนี้เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมาก โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านทางออนไลน์ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายที่ได้รับความสนใจและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความที่สะดวกสบายทั้งต่อผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้นช่วงนี้เราจึงจะเห็นว่ามีช่องทางการขายของออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย เพราะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ตรงกับความต้องการได้อย่างง่ายดาย ส่วนผู้ขายก็สามารถลงประกาศขายสินค้าได้อย่างสะดวกนั่นเอง
การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ถือเป็นธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินให้กับผู้ค้าและนักธุรกิจเป็นจำนวนไม่น้อย หากแต่ธุรกิจออนไลน์จำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะต้องเจอกับปัญหาที่มาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ผู้ประกอบการขาดการวางแผนทางธุรกิจ การโปรโมทสินค้าไม่โดนใจผู้ซื้อ การขายสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อเหล่านี้เป็นต้น
ดังนั้นการที่ธุรกิจออนไลน์ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้มาจากโชคช่วย ทว่าเกิดจากการสร้างโมแดลทางธุรกิจ (Business Model) คือมีการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นอย่างดี ทำให้เรามองเห็นภาพรวมธุรกิจทั้งหมดของเรา และลดจุดอ่อนที่อาจจะนำมาซึ่งปัญหาในอนาคตได้ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สินค้าบริการของเรา คือ เราจะขายอะไร ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อมากแค่ไหน ลูกค้าของเราเป็นใคร ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า รายได้มาจากที่ไหน ต้นทุนในการผลิตเท่าไร ทรัพยากรหรือวัตถุดิบมาจากแหล่งใด เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นเจ้าของกิจการทั้งหลายควรจะต้องวางแผนเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีหลาย ๆ บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ E-Marketplace ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์สื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เป็นแหล่งที่มีการรวบรวมข้อมูลของผู้ซื้อและผู้ขาย มีสินค้าและบริการมากมายที่จะช่วยให้ผู้ซื้อลดระยะเวลาในการจัดซื้อสินค้าที่ต้องการ ส่วนผู้ขายลดระยะเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ลงประกาศแหล่งเดียวแต่สามารถกระจายไปได้ทั่วโลก ลดต้นทุนในการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของเรา ไม่ต้องใช้พื้นที่หน้าร้าน ไม่ต้องมีพนักงานขายให้มาก
บริการของ E-Marketplace ยังมีรายชื่อธุรกิจที่แบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาหรือเลือกดูสินค้าจากบริษัทต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย เลือกซื้อเลือกขายในเว็บไซต์ได้มากมาย เช่น Lazada, Shopee, Lnwshop, JD Central, Zilingo เป็นต้น
เอกสารและขั้นตอนการสมัครผ่าน JD Central
เอกสารที่ต้องเตรียม
1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (ไม่เกิน 6 เดือน)
2. สำเนาบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตของผู้มีอำนาจลงนาม (ตามที่ระบุในหนังสือรับรองบริษัท ข้อที่ 3)
3. สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 20 / ภพ. 01 /ภพ. 09)
4. สำเนาบัญชีในนามบริษัท
5. สำเนาใบมอบอำนาจ
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์สินค้า
1. ใบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ในกรณีขายในนามเจ้าของผลิตภัณฑ์)
2. หนังสือรับรองการเป็นตัวแทนจำหน่าย (ในกรณีเป็นตัวแทนจำหน่าย)
เอกสารเกี่ยวข้องกับการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
เช่น ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ เลขที่จดแจ้งหรือหมายเลข อย. ใบอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรืออื่น ๆ
ขั้นตอนสมัครและยื่นเอกสาร
1. กรอกข้อมูลเบื้องต้น
2. เลือกหมวดหมู่สินค้าและแบรนด์
3. แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องและส่งเข้ามาในระบบ
JD Central รีวิวเอกสารดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ยื่นเข้ามาในระบบ ติดต่อกลับไปยังผู้ยื่นคำขอลงทะเบียนเป็นผู้ขาย ภายใน 1-2 วันทำการ (หากผ่านการตรวจสอบจะสามารถเพิ่ม แบรนด์ / เพิ่มสินค้าได้)
เอกสารและขั้นตอนการสมัครผ่าน Lazada
เอกสารที่ต้องเตรียม
สำหรับผู้ขายทั่วไป
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. ที่อยู่จัดส่งเอกสารเรียกเก็บเงิน
5. อีเมล
6. หมายเลขติดต่อ
สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
3. หนังสือรับรองบริษัท
4. ที่อยู่จัดส่งเอกสารเรียกเก็บเงิน
5. อีเมล
6. หมายเลขติดต่อ
7. สำเนาใบอนุญาตการค้า
8. สำเนาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ขั้นตอนการสมัคร
1. โหลดแอปฯ Lazada Seller Center ได้ทั้ง IOS และ Android
2. เข้าแอปฯ Lazada Seller Center เลือกคำสั่งสมัคร
3. กรอกชื่อ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ตั้งชื่อร้านค้า และที่ตั้งร้านค้า แล้วกดยืนยัน
4. หลังจากผ่านการสมัครขั้นแรก สามารถเพิ่มสินค้าได้ที่ คำสั่ง “ลงรายการสินค้าของท่าน” และเพื่อให้ทาง Lazada โดนเงินถึงผู้ขายได้ ต้องกรอกของมูลบัญชีธนาคาร ที่คำสั่ง “กรอกข้อมูลธนาคาร”
* ขั้นตอนการสมัครสามารถใช้ได้ทั้งผู้ขายทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ก็ใช้วิธีเดียวกัน
เอกสารและขั้นตอนที่ต้องใช้สมัคร Shopee
เอกสารที่ต้องเตรียม
สำหรับผู้ขายทั่วไป
สำหรับการลงทะเบียนครั้งแรก ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องใช้ ประกอบด้วย
1. ชื่อ นามสกุล
2. อีเมล
3. เบอร์โทรศัพท์
4. สำเนาบัตรประชาชน
5. สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร
สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์
ข้อมูลเบื้องต้นจะมีความคล้ายกับผู้ขายทั่วไป คือ ชื่อ, นามสกุล, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร แต่เอกสารที่เพิ่มขึ้นมาคือ
1. หนังสือรับรองบริษัท
2. สำเนา ปพ. 20
3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ของผู้มีอำนาจในการลงนาม ใช้สำเนาบัตรประชาชนแทนได้
4. เครื่องหมายการค้า หรือ โลโก้ร้าน
ขั้นตอนการสมัครผ่าน Shopee
1. โหลดแอปฯ Shopee ได้ทั้ง IOS และ Android
2. กดเลือกเมนู “เริ่มขาย” ในหน้าโปรไฟล์
3. เลือกคำสั่ง “เพิ่มสินค้า”
4. ใส่รูปสินค้าที่ต้องการขาย และใส่รายละเอียดอื่น ๆ เช่น ราคา คำอธิบายสินค้า จำนวนสินค้าที่มีอยู่ในสต๊อกของเรา และหมวดหมู่สินค้า เป็นต้น
5. คำสั่งสุดท้าย กดเลือก “ป้อน” เพื่อเพิ่มบัญชีธนาคาร ให้ Shopee สามารถโอนเงินมายังผู้ขายได้
* ขั้นตอนการสมัครสามารถใช้ได้ทั้งผู้ขายทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ก็ใช้วิธีเดียวกัน
วันนี้เราก็มีข้อมูลการเปรียบเทียบของแต่ละ E- Marketplace มาให้ทุกท่านได้อ่าน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนลงขายสินค้าออนไลน์กันค่ะ
E-Marketplace แต่ละเว็บไซต์จะมีคู่มือการใช้งาน มีคำแนะนำที่มีประโยชน์ เช่น การลงข้อความในการโฆษณาหรือรายละเอียดสินค้าที่ดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อ การถ่ายภาพสินค้าที่ทำให้น่าซื้อ การแจ้งเตือนเมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาไว้ในที่เดียวช่วยให้ผู้ประกอบการหรือผู้ขาย ใช้ในการตัดสินใจลงขายสินค้าออนไลน์ได้อย่างเป็นระบบและเป็นมืออาชีพ